วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน 

      กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
      กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล 
บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล
การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี                ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้ 

บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
   1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด
          ส่วนประกอบของสภาพบุคคล
            1. ชื่อตัว - ชื่อสกุล
            2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ
            3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล
            4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า
    2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ
เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น 


ทรัพย์และทรัพย์สิน 
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
     ประเภทของทรัพย์สิน
        1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
        2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ 


นิติกรรม 
      นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์
หลักการทำนิติกรรม 
     1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
     2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
     3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย

นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
     1. นิติกรรมที่เป็น  โมฆะ    คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
     2. นิติกรรมที่เป็น  โมฆียะ    คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น
        นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ 


สัญญาต่าง ๆ 

ประเภทของสัญญา 

      สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
      1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
      2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
      3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว

      สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
      1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน
      2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ
      3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก          และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน          ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
      4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
               - ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
               - ผู้ทอดตลาด
               - ผู้สู้ราคา
               - ผู้ซื้อ

      สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
      1. สัญญาเช่าทรัพย์
            - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ
            - ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
      2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ         โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย

      สัญญากู้ยืมเงิน 
             เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ 


กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว 

      การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
      การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น
      1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
      2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส
การสิ้นสุดการสมรส
      1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
      2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
      3. การหย่า

- สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร
- สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน


กฎหมายเรื่องมรดก 
   มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
   ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท
         1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
         2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้

   พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์ 


กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 
   1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
-สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
-เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
-หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ

2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม

3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ 
       - เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
       - เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
       - เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน

4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน 
       - บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ  ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปี  ต้องขอมีบัตรประชาชน
       - การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น      
       - บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
         บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป

5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร 
       - ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
       - เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด
        *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ       บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้

6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม 
      - พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
      - พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
      - พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522 

หน่วยที่2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 - กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอาญาที่ควรรู้ 
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1. ความสามารถของผู้เยาว์
                1.1 ผู้เยาว์  หมายถึง  บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ความเป็นผู้เยาว์จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ  เมื่อมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์  หรือ จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
                1.2 การพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์  มี  2 กรณี  คือ
                     ( 1 ) เมื่อมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์
                     ( 2 ) เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย  โดยทั้งชายและหญิงมีอายุครบ  17  ปีบริบูรณ์และได้รับความยินยอมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ทำการสมรสได้
                1.3 ผู้แทนโดยชอบธรรม    คือ  บุคคลที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ  แทนผู้เยาว์  หรือมีอำนาจให้ความยินยอมให้การทำนิติกรรมของผู้เยาว์  โดยทั่วไปจะเป็นบิดามารดา
                1.4 สิทธิของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม  มี  2  ลักษณะ  คือ
                     ( 1 ) การทำนิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำได้ตามลำพัง  เช่น  ผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์  สามารถทำพินัยกรรมและจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้
                     ( 2 ) การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  เช่น  การทำสัญญาซื้อขายที่ดิน  ทำสัญญาซื้อรถยนต์  ทำสัญญากู้เงิน  การโอนทรัพย์สิน  ฯลฯ
2.  การกู้ยืมเงิน
                2.1 การกู้ยืมเงินเกิน  50  บาทขึ้นไป ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินไว้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้  หรือทำสัญญากู้เงินตามแบบฟอร์มก็ได้
                2.2 การชำระหนี้เงินกู้   ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานโดยมีข้อความว่าเจ้าหนี้ ( ผู้ให้กู้ ) ได้รับเงินชำระหนี้เงินกู้จากลูกหนี้  ( ผู้กู้ ) ตามจำนวนที่กู้  ( พร้อมทั้งดอกเบี้ย ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย  หรืออาจใช้วิธีเวนคืนเอกสารสัญญากู้เงินหรือหลักฐานการกู้เงินให้แก่ผู้กู้ก็ได้
                2.3 การคิดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงิน   ตามกฎหมายให้คิดได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ  15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่านี้จะมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด  ผู้ให้กู้ไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้คืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3. ซื้อขาย
                3.1 ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้  มี  2  ประเภท  ดังนี้
                     ( 1 ) อสังหาริมทรัพย์  คือ  ที่ดินและทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร  เช่น  บ้านเรือน โรงงาน  ต้นไม้ยืมต้น  และสิทธิจำนอง  เป็นต้น
                     ( 2 ) สังหาริมทรัพย์  หมายถึง  ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้  เช่น  เก้าอี้  แหวนและสร้อยคอทองคำ  โทรทัศน์  รถยนต์  ช้าง  ม้า  และสิทธิในการจำนำ   เป็นต้น
                3.2  การทำสัญญาซื้อขาย    การซื้อขายทรัพย์ต่อไปนี้  จะต้องทำเป็นหนังสือซื้อขายและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน   มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ   หมายถึงเสียเปล่าไม่เกิดผลใดๆ  ได้แก่
                     ( 1 ) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ   เช่น  เรือกลไฟ  เรือกำปั่น   เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่  5  ตันขึ้นไป  แพที่อยู่อาศัย  และสัตว์พาหนะ  ฯลฯ
4.  เช่าทรัพย์
                4.1 เช่าสังหาริมทรัพย์  ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า  เช่น  เช่าเรือกำปั่น เรือกลไฟ  และเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป  ฯลฯ
                4.2  เช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า  เช่น เช่าบ้าน ที่ดิน ฯลฯ แต่ถ้าเช่าเกินกว่า  3  ปีขึ้นไป  จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย  มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
5.  เช่าซื้อ
                5.1 ลักษณะของการเช่าซื้อ  เป็นสัญญาที่เจ้าของนำทรัพย์สินของตนออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เข้า  หลังจากที่ผู้เช้าได้จ่ายเงินครบตามข้อตกลงแล้ว  ( จะผ่อนชำระเป็นงวดๆ  ภายในเวลาที่กำหนด )
                5.2   ทรัพย์สินทุกประเภทเช่าซื้อได้  เช่น  บ้าน  ที่ดิน  รถยนต์  โทรทัศน์  ฯลฯ
                5.3   การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์  จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญา  มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ  และเมื่อผ่อนชำระจนครบแล้ว  กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้เช่าซื้อได้ต้องไปจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงาน
กฎหมายอาญา
6.  ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือต่อประชาชนส่วนมาก  เช่น  ปล้นจี้   ข่มขืน  ค้ายาเสพติด  ทำร้ายร่างกายผู้อื่น  ฯลฯ  ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญามีดังนี้
6.1  เป็นกฎหมายมหาชน
6.2  เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด  และกำหนดบทลงโทษไว้
6.3  เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
6.4  เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายในอาณาเขตของรัฐนั้น
7.  ความรับผิดในทางอาญา
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อกระทำความผิด  3   ลักษณะ  ดังนี้
7.1  กระทำโดยเจตนา  เช่น  เด็กวัยรุ่นยกพวกตีกันและใช้มีดแทงคู่กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส
7.2  กระทำโดยไม่เจตนา  เช่น  นักเลงอันธพาลใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในบ้านผู้อื่นหวังจะข่มขู่แต่ไปถูกศีรษะคนในบ้านได้รับบาดเจ็บ
7.3  กระทำโดยประมาท  เช่น  ขับรถขนคนตาย  พ่อค้าทำหม้อน้ำเดือดหกใส่ลูกค้าในร้านได้รับบาดเจ็บสาหัส  ฯลฯ
8.  โทษทางอาญา ความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามี  5  สถาน  เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำได้  ดังนี้
8.1  ประหารชีวิต
8.2  จำคุก
8.3  กักขัง
8.4  ปรับ
8.5  ริบทรัพย์สิน
9.  การกระทำความผิดทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญามี  ดังนี้
9.1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร  เช่น  ก่อกบฏแบ่งแยกดินแดน  ล้มล้างรัฐธรรมนูญ  ทำลายธงชาติ  ฯลฯ
9.2  ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง  เช่น  ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน   ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน   แจ้งความเท็จ  ฯลฯ
9.3  ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน  เช่น  รวมตัวเป็นอั้งยี่หรือช่องโจร  ฯลฯ
9.4  ความผิดที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อประชาชน  เช่น  ลอบวางเพลิง  กีดขวางทางรถไฟให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถ   ปลอมปนอาหารจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ฯลฯ
9.5  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์  เช่น  ลักทรัพย์  ปล้นทรัพย์  ยักยอกทรัพย์  รับของโจร  ฯลฯ
9.6  ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย  เช่น  ทำร้ายร่างกายผู้อื่น  ฆ่าผู้อื่นทอดทิ้งเด็กทารก   ฯลฯ
9.7  ความผิดเกี่ยวกับเพศ  เช่น  กระทำอนาจาร  ข่มขืน  ฯลฯ
9.8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า  เช่น  ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น  หลอกลวงขายสินค้าเสื่อมสภาพ  ทำสินค้าปลอมหรือเลียนแบบ   โกงตราชั่ง   ฯลฯ
9.9  ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง  เช่น  ปลอมธนบัตร  เหรียญกษาปณ์  แสตมป์  พินัยกรรมและเอกสารของทางราชการต่างๆ  ฯลฯ
9.10  ความผิดเกี่ยวกับศาสนา  เช่น  แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์  หรือนักบวชในศาสนาอื่นๆ หรือการกระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามวัตถุหรือศาสนาสถานอันเป็นที่เคารพของศาสนาต่างๆ
10.  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา  มีดังนี้
10.1  ลักทรัพย์  คือ  การนำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม   และไม่รู้ตัว
10.2  วิ่งราวทรัพย์  คือ การฉกฉวยเอาทรัพย์สินของเจ้าของไปซึ่งหน้า  หรือต่อหน้าเจ้าของ
10.3  ชิงทรัพย์  คือ  บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
10.4  ปล้นทรัพย์  คือ คนตั้งแต่  3  คนขึ้นไปร่วมมือกันชิงทรัพย์จากผู้อื่นไป  โดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
11. การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนประมวลกฎหมายอาญาได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน  4  ระดับอายุ  ดังนี้
11.1  เด็กอายุไม่เกิน  7  ปี  เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษใดๆ  เช่น  ลักขโมยทรัพย์หรือทำปืนลั่นถูกเพื่อนเสียชีวิต  เป็นต้น
11.2  เด็กอายุเกิน  7  ปี  แต่ไม่เกิน 14  ปี  เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ  แต่ศาลจะใช้วิธีการของศาล   เช่น  ว่ากล่าวตักเตือน   หรือวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองควบคุมเด็กมิให้ก่อเหตุขึ้นอีก
11.3  เยาวชนอายุเกินกว่า   14  ปี  แต่ไม่เกิน  17  ปี  เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมายให้ศาลวินิจฉัยว่าจะใช้วิธีเหมือนในข้อ  11.2  หรือส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก  หรือพิพากษา  ลงโทษตามกฎหมาย  แต่ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
11.4  เยาวชนอายุเกินกว่า  17  ปี  แต่ไม่เกิน  20  ปี  เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมาย  ให้ศาลพิพากษาโดยลดโทษลง  1  ใน  3  หรือกึ่งหนึ่งของโทษก็ได้

หน่วยที่1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - ความหมาย ความสำคัญ ที่มา ประเภทองค์ประกอบของ

  กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
                ระบบกฎหมายในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่ ระบบกฎหมาย   ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายสังคมนิยม และระบบกฎหมายศาสนา กฎหมายแต่ละระบบย่อมมีที่มาแต่งต่างกัน
                การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง   มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคม  เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ   การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน  เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ประกอบด้วย
                1.
 วิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่อยู่ในรูปของประเพณีนิยม ที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาว่าร้าย เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาททางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
                2.
 จารีต (Mores) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ยึดหลักความดีความชั่ว กฎเกณฑ์ทางศาสนา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก หากใครละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง อาจถูกกีดกันออกจากสังคม หรือไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย การเนรคุณบิดามารดา หรือผู้มีพระคุณ เป็นต้น
                3.
 กฎหมาย (Laws) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน แน่นอน ว่ากระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานใด จะได้รับอย่างไร เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต เป็นต้น
                
กฎเกณฑ์ของความประพฤติทั้งสามประการดังกล่าว สองประการแรกไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน การลงโทษผู้ละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่รุนแรง ประการที่สาม กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ใช้ได้ผลมากที่สุด ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ดังนั้นสังคมมนุษย์ทุกสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”
กฎหมายคืออะไร
               
ความหมายของกฎหมาย
                
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ลักษณะของกฎหมาย
                
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
                1. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันเราใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมายโดยความเห็นชอบของรัฐสภา    ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้เป็นกฎหมายอยู่
                2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
 หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
                3. ใช้ได้ทั่วไป
 หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
                4.
 ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
                5.
 มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์   ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น  นอกจากนี้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็อาจมีสภาพบังคับอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น  ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรู้กฎหมาย
               
ระบบของกฎหมาย (Legal System)
               
ระบบกฎหมายของประเทศไทย
                
สำหรับประเทศไทย ในระยะแรกกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมาย และนำเอาหลักกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้ ต่อมาได้มีการปรับปรุงการศาลยุติธรรมและเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมาย โดยมีการจัดทำประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เป็นฉบับแรก จากนั้นก็มีการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอื่น ๆ จึงถือได้ว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
                
คำว่า”ที่มาของกฎหมาย” นักกฎหมายหลายท่านให้ความหมายไว้แตกต่างกัน บางทานหมายถึงแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย บางท่านหมายความถึงแหล่งที่จะค้นพบกฎหมาย หรือบางท่านอาจหมายความถึงศาลหรือผู้ที่จะนำกฎหมายไปปรับใช้กับคดีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่านักกฎหมายจะมีความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่ที่มาของกฎหมายโดยทั่วไปแล้วมีความใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาถึงที่มาของกฎหมายหลักสองระบบคือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
                1.
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1. จารีตประเพณี
 ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ

                2. คำพิพากษาของศาล
 จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
                4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ 
ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
                5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
 ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ประเภทของกฎหมาย
               
                 กฎหมายภายนอก
กฎหมายคืออะไร
               
ความหมายของกฎหมาย
                
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ลักษณะของกฎหมาย
                
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออกคำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
                1. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง และการออกกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ปัจจุบันเราใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจอธิปไตยซึ่งเห็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของปวงชนชาวไทย และบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นอำนาจในการออกกฎหมายโดยความเห็นชอบของรัฐสภา   ในสถานการณ์ที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศ หัวหน้าคณะปฏิวัติก็มีอำนาจออกกฎหมายได้เพราะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ยังมีประกาศคณะปฏิวัติหลายฉบับที่ยังบังคับใช้เป็นกฎหมายอยู่
                2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม
 หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
                3. ใช้ได้ทั่วไป
 หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ แม้แต่พระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระราชวงศ์ก็ตาม และใช้ได้ทั่วไปทุกพื้นที่ในอาณาเขตประเทศไทย
                4.
 ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
                5.
 มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมายอาญา สภาพบังคับเรียกว่าโทษ มีอยู่ 5 ประการ คือประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์   ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น  นอกจากนี้ในกฎหมายอื่น ๆ ก็อาจมีสภาพบังคับอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น  ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรู้กฎหมาย
               
ระบบของกฎหมาย (Legal System)
               
ระบบกฎหมายของประเทศไทย
                
สำหรับประเทศไทย ในระยะแรกกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมาย และนำเอาหลักกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้ ต่อมาได้มีการปรับปรุงการศาลยุติธรรมและเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมาย โดยมีการจัดทำประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เป็นฉบับแรก จากนั้นก็มีการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอื่น ๆ จึงถือได้ว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย
ที่มาของกฎหมาย
                
คำว่า”ที่มาของกฎหมาย” นักกฎหมายหลายท่านให้ความหมายไว้แตกต่างกัน บางทานหมายถึงแหล่งที่มาหรือบ่อเกิดของกฎหมาย บางท่านหมายความถึงแหล่งที่จะค้นพบกฎหมาย หรือบางท่านอาจหมายความถึงศาลหรือผู้ที่จะนำกฎหมายไปปรับใช้กับคดีที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่านักกฎหมายจะมีความเห็นแตกต่างกันออกไป แต่ที่มาของกฎหมายโดยทั่วไปแล้วมีความใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาถึงที่มาของกฎหมายหลักสองระบบคือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ที่มาของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
                1.
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                1. จารีตประเพณี
 ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี ซึ่งคนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมานาน มาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ

                2. คำพิพากษาของศาล
 จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป คำพิพากษาของศาลจึงเป็นที่มาอีกประการหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ในสมัยต่อ ๆ มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
                4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ 
ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด มีเหตุผล ความเห็นของนักนิติศาสตร์ที่มีชื่อเสสียงและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ย่อมมีน้ำหนักพอที่จะนำไปใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินความได้
                5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
 ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา(Squity) ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ประเภทของกฎหมาย
               
                 กฎหมายภายนอก
กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
                    1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
 ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกัน เมื่อมีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคี ซึ่งให้สัตยาบันร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้ เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
                    2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
 ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง เมื่อเกิดความขัดแย้ง ข้อพิพาทขึ้น จะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
                    3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
 ได้แก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือรับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่ง มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่น คนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้ หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น
การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าว ๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กฎหมายภายใน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอก ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ  
                กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
                2. จารีตประเพณี
 ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
                3. หลักกฎหมายทั่วไป
 ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น

                กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

                1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
                        1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
                2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
 ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา   พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
                        2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
 สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
                        3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
                4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น

                        4.2 กฎหมายมหาชน 
ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน  การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
ก่ สนธิสัญญา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งประเทศหนึ่งยินยอมหรือรับรองให้ศาลของอีกประเทศหนึ่ง มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีและลงโทษบุคคลประเทศของตนที่ไปกระทำความผิดในประเทศนั้นได้ เช่น คนไทยไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาแล้วกระทำความผิด ศาลสหรัฐอเมริกาก็พิจารณาตัดสินลงโทษได้ หรือบุคคลประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหนีไปอีกประเทศหนึ่ง เป็นการยากลำบากที่จะนำตัวมาลงโทษได้ จึงมีการทำสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เพื่อให้ประเทศที่ผู้กระทำความผิดหนีเข้าไปจับตัวส่งกลับมาลงโทษ ซึ่งถือว่าเป็นการร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม ปัจจุบันนี้ประเทศไทยทำสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม และอิตาลี ฯลฯ เป็นต้น
ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
                1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
 (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน   แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
                2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
                3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม
 (Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
                4. ระบบกฎหมายศาสนา
 (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน  ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้
                ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัว   การกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น
                รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย   จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อรู้กฎหมายก็จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย และไม่ถูกผู้อื่นเอารัดเอาเปรียบโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ 
                การทำผิดกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนด้วยกันเอง หรือประชาชนกับข้าราชการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามเป็นข่าวฟ้องร้องกันไม่เว้นแต่ละวันนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่รู้กฎมายทั้งสิน และเมื่อกระทำความผิดแล้วจะกล่าวอ้างแก้ตัวว่าที่กระทำลงไปนั้นเป็นเพราะไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิดก็ไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้กฎหมายจริง ๆ ก็ตาม เนื่องจากในทางกฎหมายมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าหากว่าให้มีการกล่าวอ้างแก้ตัวได้ ทุกคนก็จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายกันหมด   เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิด ในที่สุดกฎหมายก็จะขาดความศักดิ์สิทธิ์ และบังคับใช้กับใครไม่ได้อีกต่อไป
 กฎหมายภายนอก หรือกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
                    1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
 ได้แก่ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐที่จะปฏิบัติต่อกัน เมื่อมีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาทขึ้น เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ หรือได้แก่ สนธิสัญญา หรือเกิดจากข้อตกลงทั่วไป ระหว่างรัฐหนึ่งกับรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐที่เป็นคู่ประเทศภาคี ซึ่งให้สัตยาบันร่วมกันแล้วก็ใช้บังคับได้ เช่น สนธิสัญญาไปรษณีย์สากล เป็นต้น
                    2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
 ได้แก่ บทบัญญัติที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง เมื่อเกิดความขัดแย้ง ข้อพิพาทขึ้น จะมีหลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาตัดสินคดีความอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน เช่น ประเทศไทยเรามี พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกับแห่งกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับกับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในประเทศอื่น ๆ
                    3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
 ได้แ  กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม   กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
                ระบบกฎหมายในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่ ระบบกฎหมาย   ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายสังคมนิยม และระบบกฎหมายศาสนา กฎหมายแต่ละระบบย่อมมีที่มาแต่งต่างกัน
                การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง   มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคม  เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ   การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน  เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ประกอบด้วย
                1.
 วิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่อยู่ในรูปของประเพณีนิยม ที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาว่าร้าย เช่น การแต่งกาย กิริยามารยาททางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
                2.
 จารีต (Mores) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ยึดหลักความดีความชั่ว กฎเกณฑ์ทางศาสนา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก หากใครละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง อาจถูกกีดกันออกจากสังคม หรือไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย การเนรคุณบิดามารดา หรือผู้มีพระคุณ เป็นต้น
                3.
 กฎหมาย (Laws) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน แน่นอน ว่ากระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานใด จะได้รับอย่างไร เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษประหารชีวิต เป็นต้น
                
กฎเกณฑ์ของความประพฤติทั้งสามประการดังกล่าว สองประการแรกไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน การลงโทษผู้ละเมิดฝ่าฝืนก็ไม่รุนแรง ประการที่สาม กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ใช้ได้ผลมากที่สุด ในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ดังนั้นสังคมมนุษย์ทุกสังคมจึงจำเป็นต้องมีกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”
การแบ่งประเภทของกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้แบ่งว่าจะใช้อะไรเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งอย่างคร่าว ๆ ก่อนโดยแบ่งกฎหมายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กฎหมายภายใน ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยองค์กรที่มีอำนาจภายในรัฐหรือประเทศ และกฎหมายภายนอก ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นจากสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ  
                กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก ยังอาจแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะ ตามหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
 กฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ดังนั้นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็คือกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจมีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เป็นต้น
                2. จารีตประเพณี
 ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย เช่น การชกมวยบนเวที ถ้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา ถึงแม้ว่าคู่ต่อสู้จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ไม่มีความผิด หรือแพทย์ที่ตัดแขนตัดขาคนไข้โดยที่คนไข้ยินยอมก็ไม่มีความผิด เป็นต้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีการฟ้องร้องคดีเรื่องเหล่านี้เลย ซึ่งคงจะเป็นเพราะจารีตประเพณีที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นเสมือนกฎหมาย
                3. หลักกฎหมายทั่วไป
 ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งประเทศอื่น ๆ ที่มีความก้าวหน้าทางกฎหมาย ได้ยอมรับกฎหมายนั้นแล้ว มาปรับใช้ในการพิจารณาตัดสินคดีความด้วย เช่น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้รับโอน โจทย์พิสูจน์ไม่ได้ต้องปล่อยตัวจำเลย คดีอย่างเดียวกันต้องพิพากษาตัดสินเหมือนกัน ฯลฯ เป็นต้น

                กฎหมายภายใน แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

                1. ใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์การแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรที่มีอำนาจตามกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
                        1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 ได้แก่ จารีตประเพณีต่าง ๆ ที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่มาของกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรค 2 ว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่จะยกมาปรับแก้คดีได้ ท่านให้วินิจฉัยคดีนั้นตามคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”
                2. ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักในการแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
 ได้แก่ กฎหมายต่าง ๆ ที่มีโทษตามบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประมวลกฎหมายอาญา   พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร ฯลฯ เป็นต้น
                        2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
 สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญัติไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา แต่ก็อาจสังเกตได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การบังคับชำระหนี้ การชดใช้ค่าเสียหาย หรืออาจสังเกตได้อย่างง่าย ๆ คือ กฎหมายใดที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญา ก็ย่อมเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                
3. ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
 แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไปแล้วกฎหมายส่วนใหญ่ จะเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
                        3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
 ได้แก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบัญญัติไปใช้ว่าเมื่อมีการทำผิดบทบัญญัติกฎหมาย จะฟ้องร้องอย่างไร จะพิจารณาตัดสินอย่างไร พูดให้เข้าใจง่าย ๆ กฎหมายวิธีสบัญญัติก็คือ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการเอาตัวผู้กระทำผิดไปรับสภาพบังคับนั่นเอง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลแขวง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เป็นต้น
                4. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง แบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ
                        4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เป็นต้น

                        4.2 กฎหมายมหาชน 
ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน ในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครอง จึงต้องมีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข เช่น รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติป้องกัน  การค้ากำไรเกินควร หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความต่าง ๆ เป็นต้น
ระบบของกฎหมาย หรือตำราบางเล่มเรียกว่า สกุลของกฎหมาย (Legal Famly) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
                1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
 (Civil Law) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic) กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับเยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐาน   แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
                2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 (Common Law) ตำราบางเล่มเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้วก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
                3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม
 (Socialist Law) เกิดขึ้นและใช้อยู่ในสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคมนิยม ตามปรัชญาของลักทธิมาร์กซ์ ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น
                4. ระบบกฎหมายศาสนา
 (Religon Law) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลักทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณาตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลัก
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน  ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรม ในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้
                ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัว   การกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น
                รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย   จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อรู้กฎหมายก็จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย และไม่ถูกผู้อื่นเอารัดเอาเปรียบโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ 
                การทำผิดกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนด้วยกันเอง หรือประชาชนกับข้าราชการซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามเป็นข่าวฟ้องร้องกันไม่เว้นแต่ละวันนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่รู้กฎมายทั้งสิน และเมื่อกระทำความผิดแล้วจะกล่าวอ้างแก้ตัวว่าที่กระทำลงไปนั้นเป็นเพราะไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิดก็ไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้กฎหมายจริง ๆ ก็ตาม เนื่องจากในทางกฎหมายมีหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าหากว่าให้มีการกล่าวอ้างแก้ตัวได้ ทุกคนก็จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายกันหมด   เพื่อให้คนหลุดพ้นจากความรับผิด ในที่สุดกฎหมายก็จะขาดความศักดิ์สิทธิ์ และบังคับใช้กับใครไม่ได้อีกต่อไป

หน่วยที่4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 -กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ

ทำไมประเทศไทยจึงมีรัฐธรรมนูญ 
                ประเทศไทยเป็นชุมชนทางการเมืองที่ร่วมกันสร้างโดยประชาชนมีดินแดนชัดเจนแน่นอน ประชาชนเหล่านี้ได้สร้างรัฐบาลเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้พ้นจากควบคุมของรัฐบาลภายนอก ในชุมชนดังกล่าวนี้รัฐบาลมีอำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์ใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ใช้อย่างทั่วถึงกัน ซึ่งประกอบด้วย
                ๑. ประชากร มีที่อยู่อาศัย มีแหล่งทำมาหากิน
                ๒. ดินแดน มีอาณาเขตที่ชัดเจนแน่นอน 
                ๓. รัฐบาล ทำหน้าที่ดำเนินงาน ตามหลักนโยบายสาธารณะ เพื่อสนองเจตนารมณ์ของสาธารณชน
                ๔. อำนาจอธิปไตย เป็นที่รวมอำนาจของรัฐบาลเพื่อการบริหารและปกครองประเทศ
                ความหมายและที่มาของรัฐธรรมนูญ               
                รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุด ที่วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างของรัฐบาล และกำหนดขอบเขตอำนาจของรัฐบาลที่กระทำต่อบุคคลในรัฐ สิทธิหน้าที่ของประชาชนที่มีต่อรัฐ
                ลักษณะของรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากกฎหมายธรรมดา ๓ ประการ คือ
                ๑. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีการเป็นพื้นฐาน (fundamental ) มากกว่ากฎหมายอื่นเป็นเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่จัดตั้งและวางกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกลไกของรัฐบาลโดยทั่วไปและกำหนดขอบเขตของกฎหมายอื่นด้วย
                ๒. กฎหมายรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่ากฎหมายทั่วไป สำหรับกระบวนการเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีความยุ่งยาก  ต้องกระทำกันด้วยความรอบคอบ
                ๓. กฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับเหนือกว่ากฎหมายธรรมดา หากกฎหมายอื่นขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องถือว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นแบบฉบับที่ต้องยึดถือและกฎหมายนั้นย่อมตกไป
                ประเภทของรัฐธรรมนูญ 
                ประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบเผด็จการต้องมีกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เช่น ประเทศไทยมีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                รัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร เป็นรัฐธรรมนูญที่มีการร่างหรือเขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้เป็นรัฐธรรมนูญ การยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญจะกระทำโดยคณะบุคคล คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญหรือภายใต้ชื่อคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน                 
               รัฐธรรมนูญแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีลักษณะดังต่อไปนี้
                ๑. ไม่มีการร่างขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อให้มีสถานภาพเป็นรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
                ๒. สาระของกฎหมายกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ สำหรับรัฐธรรมนูญ แบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในบางประเทศ
                ๓. ประเภทรัฐธรรมนูญที่ใช้ชื่ออย่างอื่น เช่น
                รัฐธรรมนูญแบบจัดเป็นหมวดหมู่ (C0dified) หมายถึง รัฐธรรมนูญแบบสหรัฐอเมริกา
                รัฐธรรมนูญแบบกระจัดกระจาย (dispersed ) หมายถึง รัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ
                อาจมีการแบ่งรัฐธรรมนูญอีกแบบหนึ่ง คือ เป็นแบบยืดหยุ่น (flexible) และรัฐธรรมนูญแบบ เข้มงวด หรือ รัฐธรรมนูญในกรอบ (rigid,inflexible) คือ พิจารณาการเปลี่ยนแปลงแก้ไข กระทำได้ง่ายหรือยากเป็นเกณฑ์ ปัจจุบันไม่นิยม
 ที่มาของรัฐธรรมนูญ
                การได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศมีที่มาแตกต่างกันไป หากจำแนกประเภทของการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ แบ่งได้ ๕ ประเภท คือ
                ๑. รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการ ประกอบด้วยหลักการซึ่งแฝงด้วยปรัชญาและทฤษฏีทางการเมือง ดังนั้นย่อมผ่านการวิวัฒนาการเป็นเวลาช้านาน เช่น รัฐธรรมนูญของอังกฤษมีลักษณะที่มีการสั่งสมมาจากอดีต
                ๒.รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจากการปฏิวัติรัฐประหาร ในบางประเทศประชาชนไม่อาจรวมตัวกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์ได้ จึงรวมตัวกันใช้อาวุธหรือใช้ความรุนแรง ล้มล้างอำนาจ ของกษัตริย์สถาปนาความเป็นรัฐขึ้นมาภายใต้ระบอบการปกครองแบบใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญตัวอย่าง เช่น กรณีการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. ๑๗๘๙
                ๓.รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจากพระมหากษัตริย์พระราชทานให้ รัฐธรรมนูญของบางประเทศประมุขของรัฐเป็นผู้มอบรัฐธรรมนูญให้ กรณีพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๘ มอบรัฐธรรมนูญให้ชาวฝรั่งเศสหรือกรณีที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนชาวไทย  
                ๔. รัฐธรรมนูญเกิดจากการสร้างหรือสถาปนารัฐใหม่  รัฐธรรมนูญในรูปแบบนี้เกิดขึ้นกรณีประเทศได้สถาปนาความเป็นรัฐใหม่   (ประกาศเอกราช)  กรณีประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคม เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น                        
                ๕. รัฐธรรมนูญเกิดจากประเทศผู้ยึดครองเป็นผู้มอบให้  เกิดจากการที่ประเทศผู้เข้ายึดครองประเทศเห็นสมควรมอบอำนาจให้ที่ถูกยึดครองเป็น ผู้ปกครองตนเอง เช่น กรณีญี่ปุ่น ที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ภายหลังกลุ่มสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นผู้มอบรัฐธรรมนูญให้ญี่ปุ่น (แต่จำกัดการก่อตั้งกองทัพญี่ปุ่น)  
 ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี
                รัฐธรรมนูญที่ดี ต้องเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของรัฐ โดยสาระของรัฐธรรมนูญมุ่งสร้างประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนภายในชาติ ลักษณะที่ดีของรัฐธรรมนูญ มี  ๕ ประการ คือ
                ๑. มีข้อความชัดเจนแน่นอน
                ๒. มีบทบัญญัติถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ชัดเจน
                ๓. เนื้อหาต้องครอบคลุมบทบัญญัติในการปกครอง ของรัฐไว้ครบ  
                ๔. ไม่ควรยาวเกินไป รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีบทบัญญัติหลักการจัดรูปการปกครองของรัฐที่สำคัญและจำเป็น
                ๕. ต้องกำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย
                เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญ
                  ๑. อารัมภบท “ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา”
                 ๒. รูปแบบการปกครอง รัฐธรรมนูญมักระบุรูปแบบการปกครองไว้ด้วย เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมีระบุไว้ในมาตรา ๒ ว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                 ๓. โครงสร้างของรัฐบาล รัฐธรรมนูญส่วนมากจะกำหนดโครงสร้างของการบริหารประเทศ จะเป็นไปในรูปแบบใด
                 ๔. สิทธิของราษฎรและพันธะกรณีของรัฐบาล
                 ๕. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจะมีบทบัญญัติที่ว่าด้วยการแก้ไขไว้ โดยวิธีการต่างๆ กัน เช่น อาจจะแก้ไขโดยผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ
                 ๖. บทเฉพาะกาล  รัฐธรรมนูญอาจกำหนดว่าในบางเรื่องหรือบางมาตราจะมีการบังคับใช้ในเวลาอันสมควร ซึ่งอาจระบุว่าเป็น ๒ ปี หรือ ๓ ปี เป็นต้น